วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

แถบทอไทลื้อเชียงคำ สู่ชุดครุยบัณฑิต ม.พะเยา

 "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน"ที่สร้างเอกลักษณ์สร้างงาน เพิ่มรายได้ชุมชนอย่างดี ศ.ดร.มณฑลสงวนเสริมศรี อธิการบดี มพ.กล่าวด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจว่า มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชน และการจะทำให้ชุมชนเข้มแข็งได้มหาวิทยาลัยจะต้องเข้าไปช่วยทางมพ.จึงมีนโยบายให้ทุกคณะลงพื้นที่ในแต่ละอำเภอหมู่บ้าน ตำบลเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่จะทำให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยส่งนักวิจัย นักศึกษาของมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆเพื่อช่วยชาวบ้านคิด แก้ปัญหาและต่อยอดความรู้เกิดเป็นการสร้างงานและรายได้

มหาวิทยาลัยพะเยา จึงมีแนวคิดนำภูมปัญญาการทอผ้าซิ่นไทลื้อ มาประแถบผ้าบนชุดครุยบัณฑิต เพื่อ สร้างงานสร้างรายได้สร้างความเข้มเเข็งให้ชุมชน ณ บ้านทุ่งอก อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ลักษณะครุยจะเป็นแนวๆ เดียวกับ มช. มก. มม. ฯลฯ มีแถบสีม่วง-เหลืองที่เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยพาดหน้าอก ปลายแขนสีม่วงขริบด้วยไหมสีทองลักษณะพิเศษของครุยมีแถบผ้าทอสีม่วงทองที่หน้าอก 
ลายผ้าทอม่วงทองเอกลักษณ์ ลายไทลื้อ
ชุดที่จะใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจริง ซึ่งรหัส 51 จะใช้เป็นรุ่นแรกนั้น จะใช้ "สีของภู่" ที่อยู่ระหว่าง
แถบผ้าด้านหน้า

เป็นการบ่งบอกว่าอยู่คณะไหน เช่น - สีเขียว คือ คณะเกษตรศาสตร์ 

- สีเหลืองทอง คือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น



ราคาค่อนข้างแพง 

บวกกับแถบแพรด้านหน้านั้น จะต้องสั่งทอมือจากชาวบ้าน อ.เชียงคำ จ.พะเยา (ลายผ้าทอแบบไทลื้อ)


ทอด้วยมือและใช้ดิ้นทองประกอบ มหาวิทยาลัยรับมาจากชาวบ้าน  ทำให้ราคาค่อนข้างสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น